เก็บตกกระแสเกม Final Fantasy XV ที่ออกมาได้สักพักใหญ่ๆ   หลายคนก็คงจะเล่นกันจบแล้วล่ะมั๊ง มีทั้งชอบ และไม่ชอบ   อันนี้ก็นานาจิตตังนะ

แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่ชอบ หรือ ไม่ชอบ… เคยเล่น หรือ ไม่เคยเล่น… เกมซีรี่ย์นี้   คุณคงปฏิเสธไม่ได้หรอก ว่าไม่รู้จัก logo เกมนี้   ก็แหม… ไม่ว่าจะออกมากี่ภาคๆ เกมนี้มันก็ยังคงใช้การจัดองค์ประกอบแบบเดิมๆ มาตลอด   นี่ก็ล่วงเลยมาถึง 15 ภาคแล้ว(ไม่รวมภาคเสริม)   ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนใหม่   เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำเกมซีรี่ย์นี้ไปซะแล้ว

002
ไม่ว่าจะกี่ภาคๆ ก็ฟอนท์นี้… แล้วก็มีไอ้ตัวขยุกขยุย อยู่ข้างหลังเสมอเลย

Gamingroom เห็นว่าการออกแบบนี้น่าสนใจอยู่ จึงลองเข้าไปหาๆข้อมูลดู   ก็พบว่ามีเรื่องน่าสนใจมากมาย ในเบื้องหลังการออกแบบนั้นๆ   จึงขอนำเกร็ดเล็กๆน้อยๆ มาเล่าให้ผู้อ่านทุกคนฟังกันเพลินๆ เป็นส่งท้ายภาค 15 และ ความยิ่งใหญ่ของซีรี่ย์นี้ (แหม… อวยซะเวอร์เชียว   ติ่งใช่มั๊ยเนี่ย…)

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับนายคนนี้ก่อนดีกว่า   สำหรับแฟนคลับก็คงไม่ต้องแนะนำอะไรมาก   แต่เราก็ขอเล่าเผื่อคนที่ไม่เคยเล่นซีรี่ย์นี้แล้วกันนะ   คุณลุงคนนี้ชื่อว่านาย Amano Yoshitaka

001
Yoshitaka Amano เรียกได้ว่าเป็นคนสำคัญมากคนนึงของเกมซีรี่ย์นี้

คุณลุงคนนี้แหละ ที่เป็นคนวาดภาพประกอบ และ มีส่วนร่วมในการออกแบบตัวละคร ให้กับเกม Final Fantasy ตั้งแต่ภาคแรก ยันภาค 6 และที่สำคัญ Amano นี่แหละที่เป็นคนออกแบบ logo ให้กับ Final Fantasy ทุกๆภาค (ไม่รวมภาคเสริม)   ส่วนผลงานอื่นๆที่ดังๆก็มีอีกมากมาย อาทิเช่น ภาพประกอบนิยายเรื่อง Vampire Hunter-D , เกม Front Mission และ  เคยมีผลงานวาดภาพประกอบให้กับเจ้าพ่อนิยายสืบสวน/สยองขวัญ Edogawa Ranpo ด้วยนา…

003
Front Mission , Final Fantasy IV และ Vampire Hunter-D… แต่ละภาพนี่ไม่ธรรมดาเลยนะ อลังการสุดๆ

ก่อนจะลงไปถึงรายละเอียดแต่ละภาค   เราต้องขอบอกไว้ก่อนว่า แต่เดิม Final Fantasy ไม่ได้ใช้ logo แบบที่เรารู้จักกันหรอกนะ   ใน ไตรภาคแรก นั้น (ภาค 1-3) การออกแบบ logo ก็ออกไปคนละทิศ ละทางกันเลย

จนกระทั่งช่วง ไตรภาคที่สอง นี่แหละ (ภาค 4-6) ที่มีการออกแบบ logo ใหม่ และกลายมาเป็นมาตรฐานให้กับภาคถัดๆไปจนถึงปัจจุบัน   ดังนั้นเราจะขอเล่าเรียงลำดับตั้งแต่ภาค 4 เป็นต้นไปแล้วกันนะ

004-2_
Logo ของไตรภาคแรก อะไรก็ไม่รู้ อ่านไม่ออกง่าาา…

Final Fantasy IV

005

Final Fantasy IV เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการออกแบบ logo   เนื่องจากได้มีการปรับโฉมใหม่ ให้ต่างจากไตรภาคแรกอย่างสิ้นเชิง   ซึ่งถ้าดูเผินๆ ก็จะใกล้เคียงกับ logo ในยุคใหม่นี้เลย   นับได้ว่า logo ภาคนี้ เป็นรากฐานในการพัฒนาของ logo ในยุคถัดๆไป

analysis_template_01b

ในด้านการออกแบบ ทั้งตัวหนังสือ และ ตัวสัญลักษณ์ประจำภาค จะเป็นสีน้ำเงินอมม่วง   โดย Font ที่นำมาใช้นั้น ดัดแปลงมาจาก ภาคแรกฉบับ US   ตัวสัญลักษณ์นั้น ก็เป็นการเอาภาพประกอบที่วาดเอาไว้ มาแปะลงไปบน logo ดื้อๆเลย

FF1_USA_boxart
Font ของภาคแรก ฉบับ US ที่ถูกนำมาใช้ในภาค 4

ส่วนรูปที่นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำภาค ก็ไม่ได้ใช้รูปพระเอก   แต่กลับเป็นพ่อหนุ่ม Kain Highwind เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหดของพระเอกซะงั้น ซึ่งเอาจริงๆ ผู้เล่นส่วนใหญ่ ก็หลงรักคาแรคเตอร์ของหมอนี่เข้าจริงๆนั่นแหละ   ถ้าสังเกตุดีๆ Kain ทำขาใบ้หวยเป็นเลข 4 ตามชื่อภาคด้วยนะ

012
ภาพร่างของ Kain Highwind ที่ถูกนำมาใช้ใน logo

ในภายหลัง มีการนำภาคนี้มา Remake ใหม่หลายครั้ง… ซึ่งก็ได้มีการทำ logo ใหม่ให้มันทันสมัยขึ้น โดย logo นี้ ไม่ได้ออกแบบโดย Amano นะจ๊ะ   แต่ทีมงาน Square ได้วาดภาพ Golbez ตัวร้ายของเรื่องขึ้นมาใหม่และนำมาใช้แทน ซึ่งเท่าที่ทราบ Amano แกก็ดูจะชอบใจอยู่นะ

007
logo ใหญ่เชียว แต่ผู้เขียนคิดว่าอันเดิมเท่กว่านะ

Final Fantasy V

008

ภาคนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดบางส่วน อาจจะเพราะยังไม่ค่อยคลี่คลาย  จะสังเกตได้ว่าตัว V ซึ่งเป็นตัวเลขโรมันบอกลำดับภาค จะมีความหนากว่าปรกติ   ตัวหนังสือภาษาญี่ปุ่นได้ย้ายมาอยู่ตรงกลาง ด้านล่างแทน   ตัวหนังสือทั้งหมดจะเป็นสีน้ำเงิน

analysis_template_02b

ส่วนสัญลักษณ์ประจำภาคนี้ ก็เป็นเจ้ามังกรที่เราสามารถขี่บินได้ในเกมนี่แหละ มาในสีฟ้าอ่อน-ม่วงอ่อน   ถึงแม้จะเป็นการเอาภาพประกอบมาแปะเหมือนเดิม แต่ก็มีความพยายามในการลดทอนรายละเอียดลงไปให้เหมาะสมกับการเป็น logo มากขึ้น   อ้อ… มังกรของแท้ต้องเอาหางมารัดตัว A ด้วยนะ

Amano_Hiryuu
ภาพของเจ้ามังกร ที่ถูกนำมาดัดแปลงใน logo

Final Fantasy VI

010

ภาคนี้ตัวโลโก้นั้นเหมือนจะคลี่คลายได้มากที่สุด และกลายเป็นมาตรฐานให้ภาคอื่นอีกต่อๆไป   ตัวหนังสือภาษาญี่ปุ่นถูกย้ายกลับไปทางขวา ด้านล่างแทน   สีของตัวหนังสือถูกปรับเป็นสีดำ

analysis_template_03b

ส่วนสัญลักษณ์ของภาคนี้ เป็นภาพของ Tina Branford ตัวเอกของเรื่องกำลังขี่หุ่นรบ Magitek อยู่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์สั้นๆในตอนเปิดเรื่อง   คู่สีของสัญลักษณ์ใช้สีแดง-ดำ   รูปสัญลักษณ์ในภาคนี้ ก็ไม่ได้เป็นแค่การเอาภาพประกอบมาแปะแล้ว แต่เป็นการออกแบบเพื่อให้เป็น logo โดยเฉพาะ ดังนั้นรายละเอียดจึงโดนลดทอนลงไปให้เรียบง่ายขึ้น

e8989cb035acacd26e70d6c24dc91903
Tina บน Magitek Armor

Final Fantasy VII

014และแล้วโลกก็ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตัล ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยีที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ตลาดเกมก็ได้เติบโตขึ้น แพร่กระจายกว้างออกไปทั่วโลกผ่านวัฒนธรรม Sony Playstation การออกแบบนั้น จึงต้องทำให้มีมาตรฐานสูง เหมาะสมกับการออกสู่ตลาด international

ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้รูปแบบของตัวละครใน Final Fantasy เปลี่ยนไปตลอดกาลก็คือ   การปรับกราฟฟิกจากยุค Pixel มาเป็นยุค 3D Polygon   ในยุคแรกๆนั้น เทคโนโลยีมันก็ไม่ได้เอื้ออำนวย ให้ทำอะไรละเอียดๆ ได้มากนัก   แต่งานภาพของ Amano นั้น อย่างที่เห็นว่าเต็มไปด้วยรายละเอียดยุบยิบไปหมด   ประกอบกับในเวลานั้น Amano ได้ติดสัญญากับงานอื่นๆอยู่ จึงไม่สามารถทำงานให้กับ Final Fantasy ภาคนี้ได้   จุดนี้เองที่ทาง Square ต้องส่งไม้ต่อให้กับ คุณ Tetsuya Nomura เป็นผู้ออกแบบ และ วาดภาพประกอบแทน

015
พี่คล้าวของ Amano เปรียบเทียบกับของ Nomura… ของ Amano ปั้นโพลีกอนยากกว่าเห็นๆ

แต่ด้วยคุณงามความดีของ Amano นั้น ที่อยู่เคียงบ่าเคียงไหล่มาตั้งแต่ภาคแรก จนทำให้ซีรี่ย์นี้ดังกระฉ่อนมาจนวันนี้…   Square จึงยังคงให้เกียรติ Amano เป็นผู้ออกแบบ logo ของภาคนี้อยู่ และสุดท้ายก็กลายเป็นธรรมเนียมไปแล้วว่า ไม่ว่าจะยังไง Amano จะได้เป็นคนออกแบบ logo และ มีส่วนร่วมในการเขียนภาพประกอบสำหรับโปรโมทอยู่เสมอๆ

analysis_template_04

การออกแบบนั้น รูปแบบตัวหนังสือเป็นแบบเดิม ตามภาค 6 ต่างกันที่สัญลักษณ์ของภาคนี้ ใช้เป็นรูป Meteor ที่ Sephiroth ตัวร้ายของเรื่องเรียกลงมาทำลายโลก   ตัวคู่สีที่ใช้นั้น เป็นสี เขียว-น้ำเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับบรรยากาศความมืดมนของ Mako energy และ Lifestream   โดยถ้าสังเกตุดีๆ จะพบว่ามีลูกกลมๆอยู่ด้านบนด้วย   ส่วนนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นอะไรเช่นกัน แต่เดาว่าน่าจะเป็น Materia นะ

FFVII_Logo_Sketches
ภาพร่าง Meteor ของ Amano… คนอะไรวาดของย้วยๆเก่งจัง

ว่ากันว่า Amano ได้รับบรีฟแค่เป็นตัวหนังสือเท่านั้น เนื่องจากตัวเกมยังพัฒนาอยู่ รายละเอียดต่างๆจึงยังไม่ครบถ้วน   ดังนั้นการทำงาน Amano ก็จำเป็นจะต้องใช้จินตนาการของตัวเองในการออกแบบด้วย   และ ด้วยความที่ไม่แน่ใจว่า logo ควรจะออกไปในทิศทางไหน   Amano จึงได้ทำ Option ไว้มากมาย เพื่อให้ทีมงานพิจารณา  และนี่ก็คือ option ทั้งหมดก่อนที่จะพัฒนามาเป็นแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน

PSX_Logo_Beta_Trials
เหนื่อยไหมคนดี…

Final Fantasy VIII

016

Final Fantasy VIII อาจไม่ประทับใจแฟนๆยุคก่อน สักเท่าไหร่ แต่มันได้สร้างปรากฏการณ์กับ ‘คนที่ไม่ได้เล่นเกม’ ให้หันหน้ากลับมามองเกมอีกครั้งในมุมมองใหม่ ที่ไม่ใช่แค่ของเล่น   แต่มันกลายเป็นวัฒนธรรมไปเสียแล้ว   และนี่ก็เป็นความตั้งใจของทีมงานที่จะทำ Final Fantasy ภาคนี้ให้ออกมาดูสดใส ย่อยง่ายสำหรับคนทั่วไปมากที่สุด

และ concept ที่สามารถพิชิตหัวใจ ของคนทั่วไปได้สำเร็จ   ก็คือ ความรักของหนุ่ม-สาว อันแสนจะหวานแหววนี่แหละ   เรียกได้ว่าเล่นไป จิกหมอนไปกันเลยทีเดียว   และสิ่งนี้ก็ได้สะท้อนออกมาในการออกแบบ logo ด้วย

analysis_template_05

สัญลักษณ์ของภาคนี้ ได้โฟกัสไปที่ฉากอันลือลั่น ตอนที่ Rinoa โผเข้ามากอด Squall หลังจากที่เขาบุกเข้าไปช่วยเธอที่ Sorceress Memorial   คู่สีที่ใช้ ใช้สีแดงเข้ม-เหลือง เพื่อให้บรรยากาศออกมาคล้ายกับตอนที่ Rinoa ล้มลงบนอ้อมแขน Squall ในฉากเปิดเกม (แหวะ… เลี่ยน… จะกอดอะไรกันบ่อยๆยะ)

018
คือรู้ไง ว่าฉากนี้จะต้องปังแน่ๆ เลยเอาฉากนี้มาเป็นสัญลักษณ์ซะเลย
017
ฉากหวานแหววตอนเปิดเกม… พวกแกจะกอดอะไรกันหลายๆรอบ !

Final Fantasy IX

23-FinalFantasy-IX-logo

ในขณะนั้น Final Fantasy โด่งดังไปในวงกว้างเรียบร้อยแล้ว จากผลงานที่ทำไว้ในภาค 7 และ 8 ทำให้นักเล่นเกมหน้าใหม่ในขณะนั้น มีความคาดหวังบรรยากาศแบบเดียวกันในภาค 9   แต่ทีมผู้สร้างกลับไม่คิดแบบนั้น… ตัวเกมในภาคนี้ กลับพาเราย้อนกลับไปสู่บรรยากาศแบบ 2 ไตรภาคแรก   และนี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กระแสภาคนี้ไม่ดีเท่าที่ควร   ทั้งๆที่ตัวเกม ออกแบบมาได้ดีมากๆ

analysis_template_06และอีกครั้ง ที่แนวคิดของเกม ได้ถูกใส่ลงไปในงานออกแบบด้วย   ในภาคนี้ สัญลักษณ์ประจำภาคเป็นรูปผลึกคริสตัล สีเหลือง-ทอง สะท้อนไอเดียการย้อนกลับไปในบรรยากาศแบบไตรภาคแรก ที่เนื้อเรื่องเรียบง่าย และ อ้างอิงอยู่กับตำนานของผลึกคริสตัลอยู่เสมอ หลังจากที่พาเราไปผจญภัยกับไอเดียสดใหม่มาแล้วในไตรภาคหลัง


Final Fantasy

019

ก่อนจะก้าวไปสู่อีก 2 ไตรภาคสุดท้าย เราขอย้อนกลับมาที่ไตรภาคแรกอีกสักหน่อย   อย่างที่บอกไว้ด้านบนว่า logo เดิมนั้น ไม่ได้เป็นแบบที่เห็นนี้หรอก   แต่ภายใต้กระแสภาค 7-8   ชื่อเสียงของเกม Final Fantasy ก็ดังกระฉ่อนไปทั่วโลก   ทางทีมงานจึงอาศัยจังหวะนี้ หยิบเกมภาคเก่าๆออกมา remake ใหม่ซะเลย   และ Final Fantasy ภาคแรก ก็ได้ถูกหยิบขึ้นมาทำใหม่ บนเครื่อง PS   โดยปรับ logo ใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ดูเป็น theme เดียวกันกับภาคอื่นๆ ตามที่เราเห็นกันนี่แหละ

analysis_template_07ส่วนการออกแบบนั้น   สัญลักษณ์ประจำภาคจะเป็นรูป นักรบแห่งแสง จากหน้าปกฉบับดั้งเดิม มาดัดแปลงเล็กน้อย   ต่อมาในภายหลัง ได้มีการ remake ภาคนี้อีกหลายครั้ง   และได้มีการปรับแก้รูปวาดใหม่อีกครั้ง แต่ก็ยังคงเป็นรูปของ นักรบแห่งแสง อยู่เช่นเดิม

632558-final_fantasy_jp_nes_front
หน้าปกภาคแรก ฉบับดั้งเดิมเป็นรูป นักรบแห่งแสง
mzl.tiixuwff
logo ฉบับ remake อีกฉบับ

Final Fantasy II

Ff2_logoภาค 2 ก็มีการ remake เช่นเดียวกัน ซึ่ง logo ก็ได้ถูกยกเครื่องตามที่เห็น แต่คราวนี้ไม่ได้ใช้รูปตามปกฉบับเดิม แต่เป็นรูปตัวร้ายของเรื่อง จักรพรรดิ Mateus นั่นเอง

analysis_template_08และเช่นเดียวกับภาคแรก   รูปวาดสัญลักษณ์ ได้มีการปรับแก้อีกครั้งในการ remake ครั้งถัดๆไป แต่ยังคงใช้ จักรพรรดิ Mateus เป็นสัญลักษณ์อยู่เช่นเดิม

Amano_FFII_Cast
รูปที่ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์
FFII_PSP_Logo (1)
logo Final Fantasy ฉบับ remake อีกฉบับ

Final Fantasy III

final-fantasy-iii

Final Fantasy III ถูกนำมา remake ใหม่บนเครื่อง NDS โดยดัดแปลงรูป นักรบแห่งแสง จากปกฉบับดั้งเดิม   และ ใช้รูปนี้ต่อไปในทุกครั้งที่ remake

analysis_template_09

maxresdefault_
รูป นักรบแห่งแสง จากหน้าปกเดิม ที่ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์

จบไปแล้วกับวิวัฒนาการของ logo ใน 3 ไตรภาคแรก (ภาค 1-9)   หวังว่าผู้อ่านทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นแฟนคลับซีรี่ย์นี้ หรือ ไม่เคยเลยมาก่อนเลยก็ตาม จะมีความสุขในการอ่าน เกร็ดเล็กๆน้อยๆ ที่เราเอามาฝากกันนะ

อย่างไรก็ตาม ซีรี่ย์นี้ ยังไม่จบง่ายๆเพียงเท่านี้   เรายังเหลืออีก 2 ไตรภาค และ ภาคเสริมอื่นๆ ซึ่งมีรายละเอียดการออกแบบสนุกๆแฝงอยู่มากมาย   บางอัน ทำเราทึ่งไปเลยเหมือนกันว่ากว่าจะมาเป็น logo เกมนึงได้เนี่ย ต้องผ่านอะไรมาบ้าง   แต่ผู้เขียนต้องขอยกยอดไว้ไปต่อ ตอนที่ 2 แล้วกันนะ   สำหรับวันนี้เราขอลาไปก่อน พบกันใหม่ตอนหน้าเร็วๆนี้ครัช 🙂

Facebook Comments